รวมเทคนิคการถ่ายภาพแนวสถาปัตยกรรม

ให้ดูโดดเด่น สวยกว่าที่เคย


อีกหนึ่งการถ่ายภาพที่หลายคนหลงใหลคือการถ่ายภาพแนวสถาปัตยกรรม (Architecture Photography) ไม่ว่าจะเป็นตึก อาคาร สถานที่ต่างๆ คนที่ชอบถ่ายรูปแนวสถาปัตยกรรมจะรู้ดีว่า การถ่ายภาพแนวนี้จะแตกต่างกับการถ่ายรูปโดยทั่วไปค่อนข้างมาก เนื่องจากอยู่ในสภาวะแสงที่ไม่สามารถควบคุมได้ และเป็นการถ่ายภาพสิ่งที่ไม่มีชีวิต แต่ต้องถ่ายภาพให้ดูเหมือนมีชีวิตนั่นเอง

เลนส์ที่คุณต้องมีสำหรับการถ่ายภาพแนวสถาปัตยกรรม

คือเลนส์ Wide ที่เป็นเลนส์มุมกว้าง แนะนำเป็นเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสต่ำกว่า 30 มม. ลงมา

  • ทำให้ถ่ายรูปนสถานที่แคบๆ แต่ดูกว้างได้
  • มีความชัดลึกสูง ทำให้เก็บรายละเอียดของสถาปัตยกรรมได้ทั้งหมด
  • สามารถถ่ายภาพสถาปัตยกรรมในระยะใกล้ได้ โดยที่ไม่ต้องติดคน

เลือกแสงที่ใช่

การใช้แสงนับว่าเป็นจุดสำคัญของการถ่ายภาพ แต่การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนั้น เป็นแสงจากภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ดั่งใจ ดังนั้นการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม ควรเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม รวมถึงทิศทางที่เราจะถ่ายภาพสถาปัตยกรรมด้วย โดยเฉพาะตึกสูงๆ ที่จะมีแสงสะท้อนจากกระจก ทำให้ภาพไม่สวยอย่างใจคิดได้ ลองนึกภาพดูเราถ่ายภาพช่วงเวลาบ่ายสามโมงเย็น ก็ไม่ควรถ่ายภาพตึกจากทางทิศตะวันตก เพราะอาจมีแสงสะท้อนได้ จึงควรเปลี่ยนเป็นถ่ายรูปตึกในด้านทิศเหนือหรือทิศใต้แทน เพราะหลีกเลี่ยงแสงสะท้อน และยังได้แสงเงาที่ดูดี มีมิติอีกด้วย

แต่อย่างที่บอกไป เรื่องแสงจากภาพนอกเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก ถ้าภาพที่คุณถ่าย รู้สึกว่ามืดหรือสว่างเกินไป สามารถปรับ Exposure ได้ตามความเหมาะสมเช่นกัน

มองขึ้นไปด้านบน หรือด้านล่าง อาจพบมุมมองใหม่ๆ

รูปถ่ายสถาปัตยกรรมนั้น ไม่ได้มีเพียงการถ่ายภาพจากด้านข้างเท่านั้น แต่ยังมีมุมมองภาพที่น่าสนใจอย่าง มุมมองจากด้านบนและด้านล่าง ซึ่งนิยมใช้กันมากในการถ่ายรูปอาคารและสถาปัตยกรรม

มุมมองการถ่ายภาพจากด้านล่างนั้น กึ่งๆ เหมือนจะเป็นเส้นนำสายตาในบางครั้ง ด้วยรูปทรงของตึก อาคารต่างๆ  อีกทั้งสีของท้องฟ้า ยังช่วยขับอารมณ์ให้ดูอ่อนโยนมากขึ้น เมื่อเทียบกับเส้นที่ดูแข็งแรงของตึก ทำให้เป็นส่วนผสมที่ลงตัวเลยทีเดียว

ส่วนมุมมองจากด้านบน มักนึกนิยมการถ่ายภาพแบบแนวบันไดวน เรียกว่าเป็นการใช้เส้นนำสายตาอย่างชาญฉลาด ดึงดูดสายตา และยังเก็บรายละเอียดได้อีก ทำให้ได้ภาพในมุมมองที่แตกต่างจากเดิมๆ

Perspective ต้องแม่น และเลือกถ่ายเน้น Texture

Perspective คือ สัดส่วนของรูป เพราะการถ่ายรูปสถาปัตยกรรม การถ่ายรูปเบี้ยวอาจทำให้ดูไม่สวยงามอย่างที่คิดไว้ การใช้เส้น Grid นับว่าตัวเลือกที่ดีก่อนลั่นชัตเตอร์ แต่ถ้าใครใช้มือถือ สมาร์ทโฟนถ่ายรูปสถาปัตยกรรม

           

สามารถปรับแต่งได้ โดยเฉพาะแอพพลิเคชัน SKRWT ซึ่งสามารถปรับ Perspective ได้อย่างแม่นยำ และมีฟังก์ชันที่หลากหลาย เหมาะกับรูปภาพสถาปัตยกรรม มีให้ดาวน์โหลดทั้ง iOS และ Android

ส่วนการถ่ายภาพที่เน้น Texture หรือพื้นผิว โดยเฉพาะลวดลายของหินอ่อน พื้นผิวของผนังปูน ซึ่งการใช้เลนส์ Wide ทำให้เทคนิคการถ่ายภาพแบบชัดลึกทำได้ง่ายขึ้น เราสามารถเห็นรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นแนวตั้งที่บรรจบกับแนวนอน หรือเส้นโค้งที่ ทำให้ภาพดูน่าสนใจมากกว่ารูปถ่ายโดยทั่วไป

โดยสรุปแล้วถึงแม้การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนั้น จะเป็นการถ่ายภาพสิ่งที่ไม่มีชีวิต แต่เราทำให้ภาพถ่ายสถาปัตยกรรมนั้นมีชีวิตได้ เพียงแค่ใส่ใจ และเรียนรู้วิธีถ่ายภาพเพื่อดึงอารมณ์และความรู้สึกออกมา

สอบถามหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/spabattery
https://www.spabattery.com
หรือ Line : @spabattery นะครับ