การเชื่อมต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรม และแบบขนาน คืออะไร และต่างกันอย่างไร Spa Battery ชวนคุณมาหาคำตอบ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายๆ กัน..
อย่างที่ทราบกันดีแบตเตอรี่แต่ละชนิดมีแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ที่แตกต่างกัน ซึ่งโวลต์ของแบตเตอรี่แต่ละชนิดนั้นค่อนข้างต่ำทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งาน จึงมีการนำแบตเตอรี่จำนวนหนึ่งมาเชื่อมต่อกัน เพื่อให้กำลังไฟสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่ตะกั่วกรดที่ใช้ในรถยนต์ทั่วไป แบตเตอรี่ 12 โวลต์นั้นแท้จริงแล้วด้านในประกอบจากแบตเตอรี่ที่มีแรงดันไฟฟ้า 2 โวลต์เชื่อมต่อกันจำนวน 6 เซลล์ (2V x 6 = 12V)
การเชื่อมต่อแบตเตอรี่นั้นมี 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
การต่อเพื่อเพิ่มแรงดันไฟฟ้า หรือ โวลต์ (V) โดยที่ความจุแบตเตอรี่ (Ah) ยังคงเท่าเดิม
จากภาพตัวอย่างข้างต้น หากนำแบตเตอรี่ลิเธียม 3.7V 3500mAh มาเรียงต่อกันลักษณะขั้วบวกชนขั้วลบ ต่อเนื่องกัน จำนวน 4 เซลล์ แรงดันที่ได้จากแบตชุดนี้จะเป็น 14.8V (3.7V x 4) โดยมีความจุของแบตเตอรี่เท่าเดิม คือ 3500mAh
การต่อเพื่อเพิ่มความจุ (Ah) ให้กับแบตเตอรี่ โดยแรงดันไฟฟ้า (V) ยังคงเดิม
จากภาพตัวอย่างข้างต้น หากนำแบตเตอรี่ลิเธียม 3.7V 3500mAh มาเรียงต่อกันลักษณะขั้วบวกชนขั้วบวก และขั้วลบชนกับขั้วลบ ต่อคร่อมกัน จำนวน 4 เซลล์ แบตเตอรี่ชุดนี้จะเพิ่มความจุเป็น 14000mAh (3500mAh x 4) โดยมีแรงดันไฟฟ้าคงเดิม คือ 3.7V
ข้อดี
เพิ่มแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ตามจำนวนแบตเตอรี่ที่เชื่อมต่อ
เหมาะกับอุปกรณ์ที่ต้องการแรงดันไฟสูง เช่น ระบบสำรองไฟ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า
ใช้แบตเตอรี่น้อยลงในการสร้างแรงดันสูง
ข้อเสีย
หากแบตเตอรี่ก้อนใดก้อนหนึ่งเสีย หรือแรงดันไม่เท่ากัน จะทำให้ทั้งระบบทำงานผิดปกติ
ต้องมั่นใจว่าแบตเตอรี่ทุกก้อนมีคุณภาพใกล้เคียงกัน
ความจุของระบบจะเท่ากับความจุของแบตเตอรี่ที่ต่ำที่สุดในชุด
ข้อดี
เพิ่มความจุ (Ah) ทำให้อุปกรณ์ทำงานได้นานขึ้น
เหมาะกับอุปกรณ์ที่ใช้แรงดันคงที่ แต่ต้องการพลังงานต่อเนื่อง
ถ้าแบตเตอรี่บางก้อนเริ่มเสื่อม ระบบยังสามารถทำงานได้บางส่วน
ข้อเสีย
แรงดันไฟฟ้าไม่เพิ่มขึ้น ยังคงเท่ากับแบตเตอรี่ก้อนเดียว
ต้องใช้แบตเตอรี่ที่แรงดันเท่ากันจริง ๆ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดกระแสย้อน
ต้องระวังการกระจายกระแสระหว่างแบตเตอรี่ที่ไม่สมดุล
การเชื่อมต่อแบตเตอรี่ไม่ว่าจะเป็นแบบอนุกรมหรือแบบขนาน หากทำไม่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ หรือเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ จึงควรระมัดระวังในประเด็นต่อไปนี้:
แรงดันและความจุของแบตเตอรี่ต้องเท่ากัน ไม่ควรนำแบตเตอรี่ที่มีแรงดัน (V) หรือความจุ (Ah) ต่างกันมาเชื่อมต่อร่วมกัน เพราะจะทำให้แบตเตอรี่บางก้อนทำงานหนักเกินไป และเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
ควรใช้แบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานใกล้เคียงกัน การนำแบตเตอรี่ใหม่มารวมกับแบตเตอรี่เก่าจะทำให้ระบบไม่เสถียร และอาจลดประสิทธิภาพโดยรวมของชุดแบตเตอรี่
ขั้วแบตเตอรี่ต้องสะอาดและเชื่อมต่อแน่นหนา ขั้วแบตที่หลวม หรือสกปรก อาจทำให้เกิดการสปาร์คหรือกระแสไฟไม่คงที่ ส่งผลให้เกิดความร้อนสูงและเป็นอันตราย
เลือกสายไฟที่มีขนาดเหมาะสมกับกระแสไฟฟ้า การใช้สายไฟที่เล็กเกินไปอาจทำให้สายร้อนจัดหรือไหม้ได้ ควรเลือกสายที่รองรับกระแสของระบบได้อย่างปลอดภัย
ติดตั้งระบบป้องกันกระแสเกินหรือฟิวส์ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการลัดวงจร ควรมีฟิวส์หรือวงจรตัดไฟในระบบที่เชื่อมต่อแบตเตอรี่ทุกครั้ง
ไม่ควรชาร์จแบตเตอรี่หลายก้อนร่วมกัน หากไม่มีระบบควบคุมที่เหมาะสม โดยเฉพาะในระบบขนาน หากไม่มีวงจรจัดสมดุล (Balancer) อาจทำให้แบตบางก้อนชาร์จเกินหรือเสื่อมเร็ว
ควรใช้ Battery Management System (BMS) สำหรับระบบที่ซับซ้อน โดยเฉพาะกับแบตเตอรี่ลิเธียมหรือระบบที่ใช้แบตเตอรี่หลายก้อนต่อกัน เพื่อควบคุมแรงดัน กระแส และอุณหภูมิของแต่ละก้อน
#สปาร์คไฟไว้ใจสปาแบตเตอรี่ เรื่องแบตเตอรี่ให้เราดูแล
สอบถามหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมคลิกเลย !!
https://www.facebook.com/spabattery
หรือ Line : @spabattery (คลิ๊กเพื่อ add line)