LiFePO4 หรือลิเธียมฟอสเฟต ภาคต่อ

เจาะลึกแบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟตให้มากยิ่งขึ้น

จากบทความตอนที่แล้วเราได้เกริ่นถึงข้อดีของแบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต (LiFePO4 , LFP , IFR) นี้กันไป ซึ่งลักษณะเด่นของแบตประเภทนี้ที่มีทั้ง ความทนทาน จ่ายไฟแรง และมีความปลอดภัยสูง  ข้อดีเหล่านี้อาจทำให้ใครหลายคนเริ่มสนใจ และอยากลองใช้งานเจ้าแบต ประเภทนี้ขึ้นมากันบ้างแล้ว

โดยในบทความนี้ จะขอเรียกแบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟตสั้นๆ ว่า “LFP” เพื่อให้เนื้อหากระชับมากขึ้น คงไม่ว่ากันนะครับ

แบตเตอรี่ LFP นั้นมีคุณสมบัติที่ดีมากก็จริง แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของระบบการชาร์จไฟ อีกทั้งมีความต้องการระบบจัดการแบตเตอรี่ที่ฉลาด ซึ่งจะมีความต่างกับแบตเตอรี่ประเภทอื่นที่เราคุ้นเคยกัน ยกตัวอย่างเช่น  เดิมทีเราอาจเคยใช้

  • แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด
  • แบตเตอรี่นิเกิลแคดเมี่ยม หรือแบตเตอรี่นิเกิลเมทัลไฮดราย

ซึ่งแบตเตอรี่กลุ่มที่ยกตัวอย่างมานั้น สามารถนำไปต่ออนุกรม หรือต่อขนานเพื่อให้ได้ความจุ หรือแรงดันไฟที่ต้องการได้ทันที โดยไม่ต้องมีวงจรตรวจสอบสถานะของแบตเตอรี่

แต่สำหรับ แบตเตอรี่ชนิด LFP จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ด้วยเสมอ จึงจะสามารถทำให้แบตเตอรี่ชนิดนี้ใช้งานได้ดี และมีอายุการใช้งานยาวนาน

อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่

  • BMS หรือ Battery Management System  ซึ่งเป็นโมดูลที่ทำหน้าที่วัดและตรวจสอบแบตเตอรี่เซลล์หรือแบตเตอรี่แพ็ค โดยมีหน่วยประมวลผลในตัว ทำหน้าที่ควบคุมทั้งเรื่องของประสิทธิภาพของแบตเตอรี่และด้านความปลอดภัยควบคู่กันไป สิ่งที่โมดูลทำการตรวจวัด ได้แก่
    •  Voltage:   แรงดันไฟทั้งหมดในแพ็ค และแรงดันไฟของแบตเตอรี่แต่ละเซลล์
    • Temperature:   อุณหภูมิเฉลี่ย หรือแต่ละเซลล์ขึ้นกับการเลือกใช้ BMS
    • State of charge:   สถานะประจุไฟที่มีในแบตเตอรี่
    • Depth of discharge:   สถานะต่ำสุดของการคายประจุ
    • State of health: สุขภาพของแบตเตอรี่
  • Balance module หรือวงจรปรับสมดุล มีหน้าที่ทำให้แบตเตอรี่แต่ละเซลล์สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกัน การปรับสมดุลนี้เองที่เป็นหัวใจสำคัญของการทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เนื่องจากแบตเตอรี่แต่ละเซลล์ที่ถูกผลิตออกมาจะมีความต้านทานต่างกันอยู่บ้าง ทำให้ปริมาณไฟฟ้าที่ไหลเข้า-ออกแต่ละเซลล์แตกต่างกันไป ความไม่สมดุลนี้ จะทำให้กำลังไฟลดลงในขณะใช้งาน และสร้างปัญหาในขณะทำการชาร์จ ตัว balance module จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ให้ครับ

สำหรับการเลือกใช้งาน LFP ยังมีรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการออกแบบแพ็คแบตเตอรี่  ซึ่งผู้ใช้งานควรทราบถึงข้อมูลของอุปกรณ์ที่ต้องการใช้งาน เช่น ระบบการชาร์จ – แรงดันไฟ – กำลังไฟที่ต้องการใช้งาน และเงื่อนไขพิเศษอื่นๆ เพื่อให้สามารถออกแบบแพ็คแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ดี ตรงตามวัตถุประสงค์ และมีปลอดภัย

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับบทความภาคต่อของเจ้าแบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต (ภาคต่อ) นี้ ถ้ายังมีคำถาม สามารถสอบถามเข้ามาเพิ่มเติมกันได้ และหวังว่าข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ที่ Spa battery มาแนะนำกันวันนี้จะเป็นประโยชน์กับลูกค้าไม่มากก็น้อยนะครับ

สนใจสั่งซื้อสินค้า หรือสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบตเตอรี่แพ็คทุกประเภท ติดต่อได้ตามรายละเอียดด้านล่าง Spa battery ผู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่ครบวงจร ยินดีบริการ


สอบถามหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

https://www.facebook.com/spabattery
https://www.spabattery.com
หรือ Line : @spabattery นะครับ

หรือต้องการดูตัวอย่างงานในกลุ่มแบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต กด link ที่รูปตามด้านล่างได้เลยครับ